บทสรุปของสงครามภาษีครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ?

แม้ตอนนี้สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอน จึงอาจจะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ชัดเจนและเกิดขึ้นแล้วก็คือ ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทุกภาคส่วนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น…

ด้านเศรษฐกิจ

จากความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลให้ทาง IMF ได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลง จาก 3.3% เหลือ 2.8% รวมถึงมีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจทางฝั่งของสหรัฐฯ ลงจาก 2.7% เหลือ 1.8% (ที่มา : IMF, World Economic Outlook, เมษายน 2568) ส่วนในเอเชีย นำโดยจีนปรับลดลงเหลือ 4% (ที่มา : Goldman Sachs, เมษายน 2568) และไทย 1.8% (ที่มา : World Bank, กรกฎาคม 2568)

นอกจากนี้ ยังมองว่าการกีดกันทางการค้า อาจจะส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกเติบโตเพียง 1.7% เท่านั้น ทำให้ทั่วโลกยังตกอยู่ในสภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน (ที่มา : IMF, World Economic Outlook, เมษายน 2568)

ตลาดการลงทุน

ที่ผ่านมาตลาดการลงทุนก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • ก่อนหน้านี้ดัชนี Nasdaq เคยปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่โควิด ได้ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 0.09% ปิดที่ 20,630.67 จุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนคลายความกังวลด้านภาษี เนื่องจากมีการเลื่อนการเก็บภาษีออกไปเป็นเดือนสิงหาคม (ที่มา : CNBC, กรกฎาคม 2568)
  • ราคาทองคำพุ่งสูงสร้างสถิติใหม่ เนื่องจากนักลงทุนต่างมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย
  • นักลงทุนเทขายสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมัน เนื่องจากกลัวว่าสงครามการค้าอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอย

อุตสาหกรรมต่างๆ

หลายอุตสากรรมได้รับผลกระทบจากภาษี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะต้องปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

เนื่องจากการขึ้นภาษี ทำให้ธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อกำไรโดยตรง และต้องผลักภาระไปยังผู้บริโภคผ่านการขึ้นราคาสินค้า ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้วย จึงนับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายภาษีของทรัมป์ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังต้องติดตามความคืบหน้าในการเจรจาภาษีของแต่ละประเทศว่า สุดท้ายแล้วอัตราภาษีจะไปอยู่ที่เท่าไร และต้องติดตามผลการพิจารณาของศาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับกำแพงภาษีของทรัมป์ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ต่อไป

เมื่อยังไม่รู้บทสรุปของเรื่องนี้ ทำให้นักลงทุนต้องใส่ใจเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนเป็นพิเศษ เพื่อช่วยรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาด และช่วยให้พอร์ตสามารถเติบโตต่อไปได้…

เราควรลงทุนอย่างไร ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนแบบนี้ ?

ในสภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนสูง การลงทุนในกลยุทธ์ Defensive ที่มีความทนทานในทุกสภาพตลาด และมองหาโอกาสสร้างรายรับสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากราคาสินทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงได้

โดย 2 กองทุนแนะนำ จาก Aberdeen Investments ครอบคลุมทั้งโอกาสสร้างรายรับจากการลงทุนในหุ้นปันผลเด่น และการลงทุนในตราสารหนี้

กองทุนหลักของ ABGDD ลงทุนในสินทรัพย์แบบไหน ?

  • กระจายการลงทุนในหุ้นปันผลเด่นทั่วโลกที่มีพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง ครอบคลุมทั้งหุ้นคุณค่า (Value) และหุ้นเติบโต (Growth)
  • โดดเด่นด้วยการลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลพิเศษ เพื่อไล่เก็บกระแสเงินสดจากการจ่ายเงินปันผลพิเศษ จากบริษัทนั้น ๆ

จุดเด่นของกองทุนหลัก

  • เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ แสดงถึงพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแรงและโอกาสการเติบโตในระยะยาวของหุ้นที่เราลงทุน
  • มีการกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในหลากหลายประเทศทั้งสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และครอบคลุมอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน และเฮลท์แคร์ (ข้อมูล ณ 30 พฤษภาคม 2568)
  • รายได้จากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ทำให้มีความยืดหยุ่น ลงทุนได้แม้ในภาวะที่ตลาดผันผวน

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.aberdeeninvestments.com/th-th/investor/investment-solutions/specialist-equities/global-dynamic-dividend

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ Aberdeen Investments แนะนำคือ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไทยที่ลงทุนทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง โดยบลจ. อเบอร์ดีน คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.25-0.50% ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า ในภาวะดอกเบี้ยขาลง

จุดเด่นของกองทุน

  • เฟ้นหาตราสารหนี้คุณภาพดีในไทย ครอบคลุมทั้งตราสารหนี้ภาครัฐ และหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับในระดับกลุ่มลงทุนได้ (Investment Grade)
  • ปัจจุบันพอร์ตลงทุนมีอายุเฉลี่ย (Duration) อยู่ที่ 2.08 ปี ช่วยให้ผู้ลงทุนได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง (ข้อมูล ณ 30 พฤษภาคม 2568)

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.aberdeeninvestments.com/th-th/investor/funds/view-all-funds/abrdn-income-creation-fund-abinc/thb/th3527010005

ติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวน โทร 02-352-3388

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการนำเสนอข้อคิดเห็นซึ่งอาจแตกต่างจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้ และไม่ได้เป็นการแนะนำในการจัดพอร์ตการลงทุน

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก กองทุน ABGDD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน